วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคล (งานกลุ่ม)



-  ข้าวหลามหนองมน (ร้านแม่นิยม)


 
   —เป็นภูมิปัญญาประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น  เป็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิตของคน  ผ่านกระบวนการศึกษา สังเกต คิดว่าวิเคราะห์จนเกิดปัญญาและตกผลึกเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบกันขึ้นมาจากความรู้เฉพาะหลาย ๆ เรื่อง จัดว่าเป็นพื้นฐานขององค์ความรู้สมัยใหม่ที่จะช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหาจัดการและการปรับตัวในการดำเนินชีวิตของคนเรา ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ที่มีอยู่ทั่วไปในสังคม ชุมชนและในตัวผู้รู้เองจึงควรมีการสืบค้นรวบรวม ศึกษา ถ่ายทอด พัฒนาและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง


-   ร้านแม่นิยม  ตั้งอยู่ที่ตลาดหนองมน จังหวัดชลบุรี



 วัตถุดิบ และอุปกรณ์


  • กระบอกไม้ไผ่



  • ข้าวเหนียวขาว กับ ข้าวเหนียวดำ





  • ไส้ไว้ใส่ข้าวหลาม เช่น ถั่วดำ มะพร้าว เผือก




  • น้ำกะทิเอาไว้หยอด




  • เชื้อเพลิงเอาไว้เผาข้าวหลาม 



 ขั้นตอนในการทำข้าวหลาม

  • นำกระบอกข้าวหลามที่ได้มาทำความสะอาดให้เรียบร้อย

  • นำข้าวเหนียวพันธ์ดีมาแช่น้ำทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง


                     

นำถั่วดำมะพร้าว และเผือกเมาล้างทำความสะอาดแล้วนำมาตัดเป็นชิ้นๆ                                                       
               
           



  • เอาไส้ต่างๆมาคลุกเคล้ากับข้าวที่เตรียมเอาไว้ แยกไปแต่ละไส้แล้วแต่กระบอก




  • นำข้าว และไส้ที่ผสมกันไว้กรอกลงในกระบอกไม้ไผ่หลังจากกรอกเสร็จแล้วก็นำไปเผาต่อให้สุก



ขั้นตอนการเผาข้าวหลาม

  • นำกาบมะพร้าวกับเศษไม่ไผ่มาวางเรียงเอาไว้เป็นแถวโดยเว้นร่องตรงกลางเอาไว้เพื่อไว้วางกระบอกข้าวหลาม


                     


  • นำกระบอกข้าวหลามมาตั้งเรียงกันเป็นแถวตามร่องที่เว้นเอาไว้


  • นำน้ำกะทิมาหยอดลงไปในทุกๆกระบอก


  • หลังจากนั้นนำแผ่นกระเบื้องมาปิดปากกระบอกข้าวหลามไว้เริ่มจุดไฟเผาข้าวหลาม



  • รอประมาณ 2-3 ชั่วโมงจึงจะสุก แล้วแต่กระบอกเพราะเนื่องจากกระบอกไม่เท่ากันแล้วนำไปวางขายได้






-  การทำข้าวหลาม มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี
-   กลุ่มเป้าหมายหลักในการเรียนรู้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
-   กลุ่มเป้าหมายรองในการเรียนรู้คือ ทุกเพศทุกวัยที่ต้องการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการทำข้าวหลาม
สาระที่  1 การดำรงชีวิตและครอบครัว     เวลา  3  ชั่วโมงหน่วยการเรียนรู้ที่   1
กลุ่มสาระการเรียนรู้   การงานอาชีพและเทคโนโลยี     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4

แผนการเรียนรู้


1. สาระสำคัญ
  ภูมิปัญญาเป็นพื้นฐานการประกอบอาชีพและเป็นรากฐานการพัฒนาที่เริ่มจากการพัฒนาเพื่อการพึ่งพาตนเอง การพัฒนาเพื่อการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และการพัฒนาที่เกิดจากการผสมผสานองค์ความรู้สากลบนฐานภูมิปัญญาเดิม เพื่อเกิดเป็นภูมิปัญญาใหม่ที่เหมาะสมกับยุคสมัย
2. ตัวชี้วัดช่วงชั้น
ง 1.1   ม.4-6/5  มีทักษะในการแสวงหาความรู้เพื่อการดำรงชีวิต
3. จุดประสงค์การเรียนรู้ (เขียนให้ครอบคลุม KPA)
 1. บอกความสำคัญของการแปรรูปและการถนอมอาหารได้  
2. บอกวิธีแปรรูปอาหารและถนอมอาหารได้อย่างถูกต้อง 3. บอกหลักการเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ในการถนอมอาหารได้


6. แนวทางบูรณาการ
   บูรณาการกับสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กับการสืบสารวัฒนธรรมประเพณีท่องถิ่น
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียน
คุณครูแจกเอกสารการเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
ครูถามความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภูมิปัญญาในท้องถิ่นที่นักเรียนรู้จัก
ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน

ขั้นที่ 2 กิจกรรมการเรียนรู้
ครูเปิดวิดีโอเนื้อหาเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
ความสำคัญของภูมิปัญญา
ความหมายของภูมิปัญญา
ประเภทของภูมิปัญญา
ลักษณะของภูมิปัญญา
ทำแบบทดสอบหลังเรียน

 ขั้นที่ 3 สรุป
ตรวจแบบทดสอบ
8. กิจกรรมเสนอแนะ
  - ให้นักเรียนออกไปศึกษานอกสถานที่
  - ให้นักเรียนศึกษาจากภูมิปัญญาแถวบ้าน
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. หนังสือเรียน การงานอาชีพและเทคโนโลยี  ม.4 
2. วัตถุดิบ วัสดุ-อุปกรณ์ในการแปรรูปและถนอมอาหาร 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น