วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบ



   สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัด ชลบุรี




1  จากแหล่งการเรียนรู้ต้นแบบให้แบ่งประเภทของแหล่งการเรียนรู้ดังกล่าวว่าจัดอยู่ในประเภทใด

  • เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสถานที่ โดยตาม มาตรา 25 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้ระบุประเภทของแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตไว้  8 ประเภท ดังนี้ 

          ประเภทที่ 1. ห้องสมุดประชาชน
          ประเภทที่ 2. พิพิธภัณฑ์
          ประเภทที่ 3. หอศิลป์
          ประเภทที่ 4. สวนสัตว์
          ประเภทที่ 5. สวนสาธารณะ
          ประเภทที่ 6. สวนพฤกษศาสตร์
          ประเภทที่ 7. อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
          ประเภทที่ 8. ศูนย์กีฬาและนันทนาการ
          ในที่นี้สวนสัตว์เปิดเขาเขียวอยู่ในประเภทที่ 4
           ประเภทสวนสัตว์

          



2   จากแหล่งการเรียนรู้ตัวอย่าง ให้นิสิตประเมินแหล่งการเรียนรู้ในประเด็นดังนี้


      2.1 อะไร คือ องค์ความรู้ของแหล่งการเรียนรู้นั้น ๆ


  • การอนุรักษ์สัตว์ป่าและพรรณพืช

         *     ได้รู้ว่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าที่อนุรักษ์นั้นมีอะไรบ้าง สัตว์ชนิดไหนใกล้สูญพันธุ์และเราควรทำอย่างไรเพื่อให้สัตว์ประเภทนั้นๆยังคงอยู่
         *     ได้รู้จักการใช้ชีวิตของสัตว์ป่าต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น อาหารการกิน การผสมพันธุ์ การออกลูก และวงจรชีวิตของสัตว์เหล่านั้น
         *     ได้เรียนรู้สภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของสัตว์แต่ชนิดว่าสัตว์เขตอบอุ่นอยู่สภาพแวดล้อมย่างไร สัตว์เขตร้อน-ร้อนชื้นอยู่สภาพแวดล้อมย่างไร และสัตว์ขั้วโลกอยู่อย่างไร
         *     เรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและระบบนิเวศทางธรรมชาติว่าพรรณไม้ไหนใกล้สูญพันธุ์และเราจะช่วยรักษาพรรณไม่พวกนี้ได้อย่างไรบ้าง
         *     ได้พบเห็นพรรณไม้หายากที่สวยงามและเรียนรู้ระบบนิเวศว่าผืนป่าและสัตว์ป่ามีความเกี่ยวข้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันอย่างไรบ้าง 
         *     ได้เรียนรู้ศัพท์ภาอังกฤษจากป้ายนิเทศและป้ายที่อธิบายตามส่วนจัดแสดงพันธุ์สัตว์ต่างๆ


2.2 ใคร คือ กลุ่มเป้าหมายหลัก/กลุ่มผู้เรียนหลัก



  •      *   กลุ่มเป้าหมายหลังคือ กลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา

           *  กลุ่มเป้าหมายรองคือ ผู้ปกครอง ชุมชน บุคคลทั่วไป
               ที่มีความสนใจ




2.3 วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้สาหรับผู้เรียนแต่ละกลุ่ม 2.3.1 รูปแบบ / วิธีการ / เทคนิคการนาเสนอ



  •       รูปแบบการบรรยาย ประกอบการสาธิต มีการให้ผู้เรียนได้สัมผัสเรียนรู้ด้วยตนเองและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีการซักถามตามความสนใจ


2.3.2 วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกลุ่มผู้เรียน



  •      วิธีการเรียนรู้จากความสนใจ และเรียนรู้จากประสบการณ์จริงสิ่งแวดล้อมจริงได้สัมผัสใกล้ชิดกับสื่อจริงๆ


2.3.3 การเชื่อมโยงกับการศึกษา ในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย



  •   -   การศึกษาในระบบ  สามารถเชื่อมโยงโดยใช้เป็นสื่อรองโดยให้ผู้เรียนเดินทางมาทัศนศึกษาและเรียนรู้ ณ สถานที่จริงนอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน โดยสามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
    -    การศึกษานอกระบบ สามารถเชื่อมโยงโดยการจัดโครงการฝึกอบรมและจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ชุมชน และนักเรียน
    -    การศึกษาตามอัธยาศัย สามารถเชื่อมโยงโดยการเปิดให้เยี่ยมชม สำหรับคนทุกวัยโดยให้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์ป่าและพรรณพืชโดยเน้นไปในทางอนุรักษ์ ฟื้นฟูและปลูกป่าทดแทน



2.4 กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เรียน เรียนรู้เพื่ออะไร


       2.4.1 ความรู้ ความเข้าใจ


  •     ในการเรียนรู้นั้นผู้เรียนเรียนเพื่อความรู้ความเข้าใจและตระหนักเกี่ยวกับเรื่องการอนุรักษ์สัตว์ป่า  
    พรรณพืชและระบบนิเวศวิทยาของแต่ละภูมิภาค



2.4.2 ทักษะ



  •     ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์และตระหนักถึงการรักษาทรัพยากรที่สำคัญของประเทศและของโลก



2.4.3 อาชีพ



  •    ชาวบ้านในชุมชน หรือบุคคลทั่วไปที่เข้ามาศึกษาก็จะได้นำ
    ความรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาตินี้ไปประยุคใช้กับการ
    ประกอบอาชีพของตน


2.4.4 ความบันเทิง สันทนาการ



  •     ผู้เรียนหรือผู้ที่เข้าศึกษาจะได้ความสนุกสนานเพลิดเพลินจาก
     การจัดแสดงความสามารถของสัตว์ต่างๆและจากการสัทนา
     การต่างๆของเจ้าหน้าที่










ที่มา: http://www.kkopenzoo.com/th_about_us03.html

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

ความหมาย  ความสำคัญ และประเภท 

ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้   


ความหมายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้    

 ศูนย์รวมของวิชาความรู้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย ทั้งชุมชนเมือง และชุมชนชนบท อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบได้อย่างไม่รู้จบ

ความสำคัญของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงบูรณาการตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน
สร้างองค์ความรู้ให้เกิดกับผู้ที่ต้องการจะเรียนรู้ทั้งประสบการณ์ตรงและประสบการณ์อ้อมก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในรูปแบบการสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง

ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
-     แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำตก บึง หาดทราย เป็นต้น
-    
แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นบุคคล สมาคม เช่น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำท้องถิ่น ศิษฐ์เก่า และคหบดี
       หรือผู้ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพต่างๆ เป็นต้น

-    
แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสถานที่ สถาบัน หน่วยงาน เช่น วัด โบสถ์ สุเหร่าหรือสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
      สถานประกอบการ มหาวิทยาลัย และแหล่งเกษตรกรรม
-     แหล่งการเรียนรู้เป็นกิจกรรม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และประเพณี เช่น กิจกรรม โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีพื้น
      บ้าน ตำราเอกสารทางวิชาการ ประเพณีและวัฒนธรรม เป็นต้น

  1 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล

-    ท่าน ว. วชิรเมธี
    กลุ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับคติ ความคิด ความเชื่อ แนวทางในการดาเนินชีวิต



องค์ความรู้

*  การเผยแผ่ศาสนาในรูปแบบใหม่ๆ
*  ความฝัน
รางวัลที่ได้รับ
*      พ.ศ. 2548 รางวัล “ผู้มีผลงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาดีเด่น”
        (จากผลงานนิพนธ์ ๔ เรื่อง คือ ธรรมะติดปีก ธรรมะหลับสบายธรรมะดับร้อน
        ธรรมะบันดาล) จากมูลนิธิศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต
*      พ.ศ. 2548 สภาศาสนาเพื่อสันติภาพโลก ยกย่องเป็น “ทูตสันติภาพโลก”
*      พ.ศ. 2549 รางวัล “The Great Dharma Putta Award”
        (พระธรรมทูตผู้มีผลงานดีเด่นระดับโลก) จากรัฐบาลและคณะสงฆ์
        แห่งประเทศศรีลังกา และองค์กร WBSY (World Buddhist Sangha
        Youth) ในฐานะเจ้าภาพจัดงาน “สมโภช ๒๕๕๐ ปีแห่งพระพุทธ-ศาสนายุกาล”
        (The Celebration of 2550th Buddha Jayanti)
*      พ.ศ. 2550 รางวัล “รตนปัญญา” (Gem of Wisdom Award)
        ซึ่งเป็นรางวัลเกียรติยศสำหรับพระสงฆ์ผู้ทรงภูมิปัญญาเป็นเอก จาก
        คณะสงฆ์และประชาชนจังหวัดเชียงราย
*      พ.ศ. 2550 รับพระราชทานรางวัล “เสาเสมาธรรมจักรทองคำ” ในฐานะผู้ทำคุณ
        ประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สาขาการแต่งหนังสือทางพระ
        พุทธศาสนา จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานสัปดาห์
        วิสาขบูชาโลก ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
*      พ.ศ. 2550 รับพระราชทานรางวัล “บุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน”
        สาขาการศึกษาและวิชาการ จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
        สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสวันเยาวชนแห่งชาติ ณ อาคารกีฬาเวสน์ ๒ ศูนย์
        เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น)
*      พ.ศ. 2550 รางวัล “ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุด และการศึกษาวิชา
        บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์”
        จากสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
        สยามบรมราชกุมารี
*      พ.ศ. 2551 รางวัล “ผู้มีอุปการคุณต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา” ของมูลนิธิรวมใจ
        เผยแผ่ธรรมะ จากสมเด็จพระพุฒาจารย์(เกี่ยว อุปเสโณ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่
        สมเด็จพระสังฆราช
*      พ.ศ. 2551 ได้รับการคัดเลือกเป็น “๑ ใน ๑๐๐ บุคคลผู้เป็นแรงบันดาลใจ”
        (100 idols) จากนิตยสาร a day
*      พ.ศ. 2552 รางวัล “บุคคลต้นแบบคนดีศรีแผ่นดินปี ๒๕๕๑” จากกระทรวงการ
        พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
*      พ.ศ. 2553 รางวัล “พุทธคุณูปการ กาญจนเกียรติคุณ” ผู้มีพุทธคุณูปการต่อ
        พระพุทธศาสนา จากคณะกรรมาธิการการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร
*      ฯลฯ

จุดเด่น
*     เป็นพระนักคิด นักเขียน นักเทศน์
*     เป็นพระที่มีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม
*     เป็นผู้ก่อตั้งสถาบันวิมุตตยาลัย จ.เชียงราย





-                 ตัน ภาสกรนที
           เป็น นักธุรกิจ ผู้ก่อตั้งบริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม โดยต่อมา เขาขายหุ้นใหญ่ของ บมจ.โออิชิกรุ๊ป แล้วไปก่อตั้งบริษัท ไม่ตัน จำกัด (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด)



องค์ความรู้

*     การทำธุรกิจ
*     การเอาใจใสในสิ่งที่ทำ
*     การคิดบวกให้แก่ตนเอง
รางวัลที่ได้รับ
 *     รับรางวัล ด้านบุคคลที่ถูกกล่าวขวัญถึง MThai Top Talk About 2011
จุดเด่น
*     ทำอะไรทำให้ดีที่สุด และต้องเหนือกว่าคนอื่น แปลกแยกกว่าคนอื่น
*     ทำธุรกิจต้องไม่ยึดติด
*     นำประสบการทั้งชีวิต มาพลิกแพลงธุรกิจ
*     เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่



2. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ

-    เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง




องค์ความรู้
*     การอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติ

*     ได้รู้จักประเภทของป่า
*     ได้รู้จักลักษณะภูมิประเทศและลักษณะทางธรณวิทยา
จุดเด่น
1.   อุณหภูมิของอากาศที่หนาวเย็นตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในฤดูหนาวอุณหภูมิจะลดลงใกล้ถึง
     จุดเยือกแข็งหรือต่ำกว่าจุดเยือกแข็งเกือบทุกปี
2.   เป็นแหล่งที่มีพืชพรรณไม้ในที่สูงที่อุดมสมบูรณ์มาก มีกล้วยไม้ป่ามากกว่า 160 ชนิด
      มีพืชพรรณไม้ที่หายากหรือมีที่ภูหลวงเพียงแห่งเดียวหรือพืชพรรณไม้ที่ไม่ค่อยจะพบเห็น
3.   สวนหินธรรมชาติที่ประกอบด้วยพืชพรรณไม้ดอกกล้วยไม้และพืชชั้นต่ำ เช่นลานสุริยัน
      และป่าหินภูเขา
4.   หน้าผาที่สูงชันและทิวทัศน์ที่สวยงาม เช่น ผาสมเด็จ ผาเยือง และผาโหล่นแต้
5.   ทุ่งดอกไม้ป่าที่สมบูรณ์และสวยงาม เช่นทุ่งกุหลาบแดง ทุ่งกุหลาบขาว
6.   รอยเท้าไดโนเสาร์ ที่มีอายุประมาณ 120 ล้านปี
7.   น้ำตกที่ตกจากหน้าผาที่สูงประมาณ 60 เมตร เช่นน้ำตกตาดเลย 8.  รอยเท้าไดโนเสาร์


-    น้ำตกเอราวัณ
 เป็นน้ำตกที่ใหญ่และสวยงาม บนฝั่งแม่น้ำแควใหญ่ ตั้งอยู่ที่ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี



องค์ความรู้
*     ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ
*     ได้รู้เกี่ยวกับระบบนิเวศของป่าไม้ลำธาร
จุดเด่น
*     ธรรมชาติที่สวยงาม
*     น้ำตกทั้ง
7ชั้น
*     น้ำที่สะอาดสดใสเนื่องจากแร่ธาตุในดิน

3.แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ
-                   หมอลำ
              เป็นรูปแบบของเพลงลาวโบราณในประเทศลาวและภาคอีสานของประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายอย่าง ตามลักษณะทำนองของการลำ เช่น ลำเต้ย ลำกลอน ลำเรื่อง ลำเรื่องต่อกลอน ลำเพลิน ลำซิ่ง รวมทั้ง ลำตัดในภาคกลางก็จัดได้ว่าเป็นหมอลำประเภทหนึ่ง


องค์ความรู้
*     ได้เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน
*     สืบสานประเพณีของไทย
จุดเด่น
*     สนุกสนาน
*     มีความเป็นเอกลักษณ์ในตัว


-    หนังตะลุง
        หนังตะลุง คือ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่าการ "ว่าบท" มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่งการว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้ นายหนังตะลุงเป็นคนแสดงเองทั้งหมด



องค์ความรู้
*    ได้เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน
*     สืบสานประเพณีของไทย
*     รู้จักศิลปะการแสดงการเชิดหนังตะลุง
*     ได้รับความรู้ทางวรรณคดีจากหนังตะลุง
จุดเด่น
*     ภาษาใต้
*     รูปร่างของหุ่นเชิด
*     ความสนุกสนาน

4. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้นประเภทวัตถุและอาคารสถานที่

-     พิพิธภัณฑ์สิรินธร



องค์ความรู้
*     ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเผ่าพันธุ์ไดโนเสาร์

*     ได้รู้จักวิวัฒนาการของยุคต่างๆ
จุดเด่น
*     โครงกระดูกของไดโนเสาร์ที่ถูกค้นพบ

*     การบรรยายของวิทยากรที่น่าสนใจ

-          ปราสาทหินพิมาย
            ปราสาทหินพิมาย อยู่ใน อ. พิมาย จ. นครราชสีมา สร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนา เป็นปราสาทหินบนพื้นราบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ประกอบด้วยปราสาทประธานเป็นปรางค์องค์ใหญ่ สร้างด้วยหินปูนและหินทราย ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศใต้ (โดยปกติปราสาทเขมร มักสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก) คงให้รับกับถนนโบราณ ซึ่งตัดตรงจากเมืองพระนครหลวงของขอมมายังปราสาทหินพิมาย หน้าบันของปราสาทเป็นภาพเล่าเรื่อง เช่น รามเกียรติ์ ภาพศิวนาฏราช เป็นต้น



องค์ความรู้
*     รู้เกี่ยวกับประวิติศาสตร์ของไทย
*     ประติมากรรมสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่๗
จุดเด่น
*     ประสาทที่สร้างด้วยหินทั้งหมด
*     ประติมากรรมสมัยโบราณที่หาดูได้ยาก
*     ความสวยงามของโครงสร้างประสาท

 5 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

-      เว็บไซด์ความรู้  วิกิพีเดีย
           สารานุกรมเนื้อหาเสรีหลายภาษาบนเว็บไซต์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิวิกิมีเดีย องค์กรไม่แสวงผลกำไร เนื้อหากว่า 25 ล้านบทความ เกิดขึ้นจากการร่วมเขียนของอาสาสมัครทั่วโลก ทุกคนที่สามารถเข้าถึงวิกิพีเดียสามารถร่วมแก้ไขได้แทบทุกบทความได้อย่างเสรี โดยมีผู้เขียนประจำราว 100,000 คน


-        เว็บไซต์ Google (www.Google.com) 
          เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการในการค้นหาข้อมูลในโลกของอินเตอร์เน็ต โดยค้นหาข้อมูลจากข้อความ หรือตัวอักษรที่พิมพ์เข้าไป แล้วทำการค้นหาข้อมูล รูปภาพ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวข้องนำมาแสดงผล เว็บไซต์ Google ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ต้องการค้นหาข้อมูล