วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคล



ผ้าทอมือลายผีตาโขน
โดย
กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านเครือคู้




กลุ่มองค์ความรู้ :  

                      เป็นกลุ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับคติ ความคิด ความเชื่อ แนวทางในการดาเนินชีวิตกล่าวคือ เป็น หลักการพื้นฐานขององค์แห่งความรู้ที่เกิดจากการสั่งสมถ่ายทอดกันมา ได้แก่ การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ของแต่ละท้องถิ่น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยการพึ่งพาธรรมชาติมาใช้ประโยชน์เพื่อการยังชีพ  ความคิด ความเชื่อเหล่านี้ จะนำมาสู่การพัฒนาชีวิต และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การตั้งธนาคารแห่งชีวิตเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน โดยยึดหลักธรรมในพุทธศาสนา การจัดพิธีสืบชะตาแม่น้ำ การจัดพิธีกรรมบวชต้นไม้ การจัดตั้งป่าสมุนไพร สหกรณ์หมู่บ้าน ธนาคารโค-กระบือ ธนาคารข้าว กลุ่มทอผ้า กลุ่มฌาปนกิจ เป็นต้น


ภูมิปัญญา  หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ความเชื่อ ความสามารถทางพฤติกรรม และความสนใจในการแก้ปัญหาของมนุษย์ในแต่ละพื้นที่นั้นๆ  


ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง กระบวนทัศน์ของบุคคลที่มีต่อตนเอง ต่อโลกและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระบวนการดังกล่าว จะมีรากฐานคาสอนทางศาสนา คติ จารีต ประเพณี ที่ได้รับการถ่ายทอดสั่งสอนและปฏิบัติสืบเนื่องกันมา ปรับปรุงเข้ากับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปแต่ละสมัย ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายเพื่อความสงบสุขในส่วนที่เป็นชุมชน และปัจเจกบุคคล


  
 


ประวัติความเป็นมา
กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านเครือคู้ ตั้งอยู่ ณ ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาอาชีพกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านเครือคู้ เลขที่ 76 บ้านเครือคู้ หมู่ที่ 2 ตำบลปากหมัน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย รหัสไปรษณีย์ 42120 มีนางถาวร อุ่นแก้ว เป็นประธานกลุ่ม เริ่มก่อตั้งกลุ่มเมื่อปี 2540 สมาชิกกลุ่ม 25 คน ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมดรวม 39 คน เริ่มทอผ้าเพื่อจำหน่ายด้วยผ้าสีพื้น ผ้าขาวม้า ผ้าถุงลายหมี่ย่อย ต่อมาได้เพิ่มเป็นผ้าถุงลายผ้าซิ่นบ้านไร่ ผ้าลายเกล็ดเต่า จนกระทั่งปี 2545 จึงเริ่มเกิดแนวคิดในการพัฒนาลายผ้าของกลุ่ม ซึ่งเดิมส่วนใหญ่จะผลิตเพื่อจำหน่ายในท้องถิ่นละแวกใกล้เคียง กลุ่มลูกค้ายังไม่ขยายพอ เพราะลวดลายและเทคนิคการทอยังไม่ดึงดูดต่อลูกค้าทั่วไป และได้รับคำแนะนำจากทั้งลูกค้า และบุคคลและหน่วยงานต่างๆ ให้นำเอกลักษณ์ของอำเภอด่านซ้ายคือ งานประเพณีการละเล่นผีตาโขน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปอยู่แล้ว มาผสมผสานกับวัฒนธรรมการทอผ้า โดยออกแบบลายผ้าโดยการมัดหมี่ เป็นผ้าทอมือลายผีตาโขน เพราะสมาชิกกลุ่มมีความรู้ ความชำนาญ ในการมัดหมี่มาก่อนทำให้ง่ายต่อการพัฒนา และกลุ่มได้พัฒนารูปแบบของลายผีตาโขน ผลิตเพื่อจำหน่าย จนถึงปัจจุบัน
ผ้าทอมือลายผีตาโขน ผีตาโขนมีที่มาจากประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ซึ่งเป็นประเพณีมาแต่โบราณของชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งจะจัดขึ้นทุกๆปี ในช่วง เดือนเจ็ด ถึงเดือนแปด (ตามจันทรคติ) เป็นประเพณีที่รวมเอาความเชื่อและศรัทธาของชาวอีสานมารวมกันไว้ คือ งานประเพณีบุญพระเวส(บุญมหาชาติ ชาวด่านซ้ายเรียกบุญหลวง) บุญบั้งไฟ (ชาวอีสานทั่วไปจะจัดงานบุญพระเวส ในเดือน สี่ และบุญบั้งไฟ ในเดือน หก) ซึ่งในประเพณีดังกล่าวจะมีลักษณะที่แสดงออกถึงความสนุกสนานบรรดาผีตาโขน ที่ตามเสด็จของขบวนแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง ซึ่งบรรดาผู้เข้าร่วมจะสวมหน้ากาก ทำจากหวดนึ่งข้าวและทางมะพร้าวตัดเป็นรูปหน้าและประกอบจมูกยื่นยาว ตัดรูปตาและเขียนลวดลายตามความถนัดของช่างแต่ละคน เพื่อสวมบนศรีษะ และผู้ที่สวมหน้ากากจะสวมชุดที่ยาวรุ่มร่าม ขาดรุ่งริ่ง คล้ายผี เพื่อให้เกิดความน่ากลัว กลุ่มจึงได้นำเอาเอกลักษณ์ของ”หน้ากากผีตาโขน” ไปลงบนผืนผ้าของกลุ่มเช่นเดียวกัน โดยใช้รูปแบบการทอผ้ามัดหมี่ มีนางคำพัน ฤทธิศักดิ์ สมาชิกกลุ่มและเป็นผู้ที่มีความชำนาญ เป็นผู้คิดค้นและมัดลายต้นแบบและพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน

เอกลักษณ์/ จุดเด่นผลิตภัณฑ์
จุดเด่นของผ้าทอมือลายผีตาโขนของบ้านเครือคู้ คือ ลวดลาย ที่ปรากฏ คือการมัดหมี่เป็นรูปผีตาโขน ทั้งเฉพาะส่วนหน้า(หน้ากาก) รูปแบบการยืนเต็มตัว การนั่ง หน้า ตรง หน้าเอียง ซึ่งเป็นลักษณะท่าทาง ของการละเล่นผีตาโขน ซึ่งเป็นการนำเอาภูมปัญญาการทอผ้า ผสมผสานกับการนำเสนอประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม ของชาวอำเภอด่านซ้าย เหมาะที่จะเป็นของที่ระลึก ของขวัญ นำไปตัดเสื้อผ้าสวมใส่ได้
อุปกรณ์ในการทำจะใช้วิธีการประกอบเองโดยได้รับการสืบทอดวิธีการทำจากผู้เฒ่า ผู้แก่ ในหมู่ บ้าน และจากเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ

วัตถุดิบและส่วนประกอบ
1. ด้าย /ฝ้าย
2. ฟืม
3. กี่ 4 ขา
4. กระสวย
5. หลา
6. หลอด
7. หลักกี่
8. โฮงมัดหมี่

ขั้นตอนการผลิต
1. เตรียมเส้นด้ายยืน/ด้ายยืน
2. มัดหมี่ด้ายพุ่งเป็นลายผีตาโขน
3. นำหมี่และด้ายยืน ไปย้อมสีตามความต้องการและตากให้แห้ง
4. นำด้ายยืนสืบค้นเข้าฟืมและประกอบเข้ากี่
5. นำหมี่ที่มัดย้อมได้ไปปั่นหลอดเตรียมทอ
6. ทอจนหมดด้ายพุ่งที่มัดไว้ เป็นผ้าทอลายผีตาโขน




รหัสผลิตภัณฑ์ (Code): 420502-A001
รหัสโอทอป (OPC): 42050016

ผลิตภัณฑ์ (Product) ผ้าทอมือลายผีตาโขน(ผ้ามัดหมี่) (4 ดาว ปี 2552)

รายละเอียดผลิตภัณฑ์
ผ้าทอมือลายผีตาโขน(ผ้ามัดหมี่) (รหัสโอทอป 420500164701)(OPC52 LE4Stars)52C,524C

สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ 2552
ประเภทผลิตภัณฑ์ : ผ้า เครื่องแต่งกาย

สถานที่จำหน่าย 
กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านเครือคู้
76 เครือคู้ หมู่ 2 ด่านซ้าย-นาข่า ต.ปากหมัน อ.ด่านซ้าย จ.เลย 42120 
ติดต่อ : นางสมจิตร์ สารมะโน
โทร :08-7121-9544



                    คลิปวีดีโอการทอผ้ามัดหมี


แหล่งที่มา:http://souvenirbuu.wordpress.com/
http://www.thaitambon.com/tambon/tcommdesc.asp?ID=420502&SME=0279154142
http://www.thaitambon.com/tambon/tsmepdesc.asp?Prod=0932315396&ID=420502&SME=0279154142

วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อของเล่น


เต่ากะลา



ชื่อของเล่น : เต่ากะลา

ขั้นตอนการผลิต :



สถานที่จัดหาอุปกรณ์ :

         -  บ้านของชาวบ้านที่ขูดมะพร้าวทำกะทิ
        
-   ด้ายเย็บผ้าของสมาชิกในกลุ่ม                                   
         
-   แกนด้ายที่เหลือใช้ของสมาชิกในกลุ่ม
        
-   เลื่อยจากกล่องอุปกรณ์งานช่างของคุณลุง รปภ. ที่หอพัก
        
-   กระดาษทรายจากร้านค้าอุปกรณ์งานช่าง
        
-   หนังยางจากแกงถุงที่สมาชิกในกลุ่มเก็บไว้

อุปกรณ์ :        

   กะลา
         
                                                             
                                                     


 เส้นด้าย



แกนของเส้นด้าย



เลื่อย



ยาง



กระดาษทราย




 สถานที่ผลิต :  หอพัก บูรพาภิรมย์ เฟส 4

วิธีการผลิต :  

1.             เลือกขนาดกะลามะพร้าวตามที่ต้องการ เพื่อนำมาเป็นตัวเต่า (กะลาได้มากจาก ชาวบ้านที่ขูดมะพร้าวทำกะทิสด)

                2.             ใช้มือกดบนหัวกะลาจะมีจุดที่อ่อนและทะลุลงไปได้



 
3.             นำกะลามะพร้าวที่ได้ มาขัดด้วยกระดาษทรายเพื่อให้ผิวของกะลานั้นเลียบ



                4.             ใช้เลื่อยบากร่อง 2 ร่องที่ขอบทั้งสองข้างของกะลาเพื่อร้อยยางยืด



 

5.             ใช้เลื่อย เลื่อยแกนด้ายประมาณ 1 เซนติเมตร ทั้งสองข้าง ตามรูปภาพ



                6.             นำเอายาง 2เส้น มาเกี่ยวไว้กับลอยที่เลื่อยร่องแกนด้ายไว้ ดังภาพ






7.             นำด้ายมาผูกเข้ากับแกนด้าย ดังภาพ




8.             ม้วนด้ายเข้ากับแกนดังภาพ ความยาวแล้วแต่ความต้องการ ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งของด้ายให้นำผูกเข้ากับไม้เพื่อเป็นที่จับไว้สำหรับดึง




9.             นำยางทั้งสองข้างมาเกี่ยวกับกะลาที่บากร่องไว้ตามภาพ



10.             สอดด้ายด้านที่ผูกกับไม้ไว้ ออกไปทางรูกะลา ตามภาพ





11.             ตกแต่งส่วนหัวของเต่าตามที่ต้องการ


 



แหล่งข้อมูลได้มาจาก :   http://cmrulocalinformaiton.blogspot.com/2011/10/blog-post_9007.html

                                        :   http://www.youtube.com/watch?v=urIV90j-zVw

วิธีการเล่น :  ดึงเชือกบนหลังเต่าแล้วปล่อย เต่าก็จะเคลื่อนที่ออกไปข้างหน้า 

วิธีการซ่อมแซม  : 


  • ·       หากด้ายขาด  วิธีการซ่อมคือ ดึงยางออกจากกะลา นำด้ายเก่าออกแล้วนำด้ายอันให้มาหมุนเข้าที่แกนได้เดิมแล้วจึงประกอบเข้าไปใหม่ตามขั้นตอนที่ 9 และ 10
  • ·       หากแกนด้ายพัง วิธีการซ่อมคือ เราสามารถที่จะนำแกนด้ายเก่าๆที่เหลือจากการใช้แล้วมาเปลี่ยนแกนด้ายที่พัง โดยการถอดยางและด้ายออกแล้วนำ ยางและด้ายที่ถอดออกไปใสแกนได้อันใหม่ คือทำตามขั้นตอนที่ 6-10 เต่ากะลาก็จะกลับมาเล่นได้อิกครั้ง
  • ·       หากยางขาด  วิธีการซ่อมคือ ถอดด้ายและยางเส้นเก่าออก แล้วนำยางเส้นใหม่มาเกี่ยวกับแกนได้แล้วพันเส้นด้ายเข้าไปใหม่ และทำตามขั้นตอนที่ 9 และ 10 อีกครั้ง
  • ·       หากกะลาแตก  วิธีการซ่อมคือ นำกะลามะพร้าวที่ไม่ใช้แล้วมาขัดแล้วทำตัวเต่ากะลาขึ้นมาใหม่โดยทำตามวิธีทำตั้งแต่ขั้นตอนที่