วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบ



   สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัด ชลบุรี




1  จากแหล่งการเรียนรู้ต้นแบบให้แบ่งประเภทของแหล่งการเรียนรู้ดังกล่าวว่าจัดอยู่ในประเภทใด

  • เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสถานที่ โดยตาม มาตรา 25 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้ระบุประเภทของแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตไว้  8 ประเภท ดังนี้ 

          ประเภทที่ 1. ห้องสมุดประชาชน
          ประเภทที่ 2. พิพิธภัณฑ์
          ประเภทที่ 3. หอศิลป์
          ประเภทที่ 4. สวนสัตว์
          ประเภทที่ 5. สวนสาธารณะ
          ประเภทที่ 6. สวนพฤกษศาสตร์
          ประเภทที่ 7. อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
          ประเภทที่ 8. ศูนย์กีฬาและนันทนาการ
          ในที่นี้สวนสัตว์เปิดเขาเขียวอยู่ในประเภทที่ 4
           ประเภทสวนสัตว์

          



2   จากแหล่งการเรียนรู้ตัวอย่าง ให้นิสิตประเมินแหล่งการเรียนรู้ในประเด็นดังนี้


      2.1 อะไร คือ องค์ความรู้ของแหล่งการเรียนรู้นั้น ๆ


  • การอนุรักษ์สัตว์ป่าและพรรณพืช

         *     ได้รู้ว่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าที่อนุรักษ์นั้นมีอะไรบ้าง สัตว์ชนิดไหนใกล้สูญพันธุ์และเราควรทำอย่างไรเพื่อให้สัตว์ประเภทนั้นๆยังคงอยู่
         *     ได้รู้จักการใช้ชีวิตของสัตว์ป่าต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น อาหารการกิน การผสมพันธุ์ การออกลูก และวงจรชีวิตของสัตว์เหล่านั้น
         *     ได้เรียนรู้สภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของสัตว์แต่ชนิดว่าสัตว์เขตอบอุ่นอยู่สภาพแวดล้อมย่างไร สัตว์เขตร้อน-ร้อนชื้นอยู่สภาพแวดล้อมย่างไร และสัตว์ขั้วโลกอยู่อย่างไร
         *     เรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและระบบนิเวศทางธรรมชาติว่าพรรณไม้ไหนใกล้สูญพันธุ์และเราจะช่วยรักษาพรรณไม่พวกนี้ได้อย่างไรบ้าง
         *     ได้พบเห็นพรรณไม้หายากที่สวยงามและเรียนรู้ระบบนิเวศว่าผืนป่าและสัตว์ป่ามีความเกี่ยวข้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันอย่างไรบ้าง 
         *     ได้เรียนรู้ศัพท์ภาอังกฤษจากป้ายนิเทศและป้ายที่อธิบายตามส่วนจัดแสดงพันธุ์สัตว์ต่างๆ


2.2 ใคร คือ กลุ่มเป้าหมายหลัก/กลุ่มผู้เรียนหลัก



  •      *   กลุ่มเป้าหมายหลังคือ กลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา

           *  กลุ่มเป้าหมายรองคือ ผู้ปกครอง ชุมชน บุคคลทั่วไป
               ที่มีความสนใจ




2.3 วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้สาหรับผู้เรียนแต่ละกลุ่ม 2.3.1 รูปแบบ / วิธีการ / เทคนิคการนาเสนอ



  •       รูปแบบการบรรยาย ประกอบการสาธิต มีการให้ผู้เรียนได้สัมผัสเรียนรู้ด้วยตนเองและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีการซักถามตามความสนใจ


2.3.2 วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกลุ่มผู้เรียน



  •      วิธีการเรียนรู้จากความสนใจ และเรียนรู้จากประสบการณ์จริงสิ่งแวดล้อมจริงได้สัมผัสใกล้ชิดกับสื่อจริงๆ


2.3.3 การเชื่อมโยงกับการศึกษา ในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย



  •   -   การศึกษาในระบบ  สามารถเชื่อมโยงโดยใช้เป็นสื่อรองโดยให้ผู้เรียนเดินทางมาทัศนศึกษาและเรียนรู้ ณ สถานที่จริงนอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน โดยสามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
    -    การศึกษานอกระบบ สามารถเชื่อมโยงโดยการจัดโครงการฝึกอบรมและจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ชุมชน และนักเรียน
    -    การศึกษาตามอัธยาศัย สามารถเชื่อมโยงโดยการเปิดให้เยี่ยมชม สำหรับคนทุกวัยโดยให้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์ป่าและพรรณพืชโดยเน้นไปในทางอนุรักษ์ ฟื้นฟูและปลูกป่าทดแทน



2.4 กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เรียน เรียนรู้เพื่ออะไร


       2.4.1 ความรู้ ความเข้าใจ


  •     ในการเรียนรู้นั้นผู้เรียนเรียนเพื่อความรู้ความเข้าใจและตระหนักเกี่ยวกับเรื่องการอนุรักษ์สัตว์ป่า  
    พรรณพืชและระบบนิเวศวิทยาของแต่ละภูมิภาค



2.4.2 ทักษะ



  •     ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์และตระหนักถึงการรักษาทรัพยากรที่สำคัญของประเทศและของโลก



2.4.3 อาชีพ



  •    ชาวบ้านในชุมชน หรือบุคคลทั่วไปที่เข้ามาศึกษาก็จะได้นำ
    ความรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาตินี้ไปประยุคใช้กับการ
    ประกอบอาชีพของตน


2.4.4 ความบันเทิง สันทนาการ



  •     ผู้เรียนหรือผู้ที่เข้าศึกษาจะได้ความสนุกสนานเพลิดเพลินจาก
     การจัดแสดงความสามารถของสัตว์ต่างๆและจากการสัทนา
     การต่างๆของเจ้าหน้าที่










ที่มา: http://www.kkopenzoo.com/th_about_us03.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น